ความเป็นมาและความสำคัญของมูลนิธิ
พิธีอัญเชิญ ร.5 ณ เกาะพงัน จ.สุราษฎร์ธานี
เริ่มจาก ปี 2557 ดร.วรรณธนพล หิรัญบูรณะ ผ้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันรัชต์ภาคย์ในขณะนั้น ร่วมกับเทศบาลเกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานอัญเชิญเสด็จพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ สมเด็จพระปิยมหาราช จากโรงงานหล่อที่จ.อยุธยา ไปประดิษฐานที่ท่าเรือ เกาะพงัน โดยงานนี้ได้รับพระเมตตาจากสมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร) เป็นประธานที่ปรึกษา และพระธรรมปาโมกข์(สุนทร สุนฺทราโภ) เป็นประธานสงฆ์ นำพิธีแบบอย่างตามพระราชประเพณีการเสด็จประพาสด้วยตนเอง และพิธีประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราช พลตรีหม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล ราชองครักษ์ และพระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลที่5 เป็นประธานพิธี ซึ่งการอัญเชิญและประดาษฐานประสบความสำเร็จด้วยดี อันเป็นคุณค่าของประชาชนและนักท่องเที่ยวกราบไหว้เคารพนับถือในปัจจุบัน ทั้งนี้พระธรรมปาโมกข์ให้คำสอนแก่ดร.วรรณธนพล ควรเอาแบบอย่างพระองค์ในการทำงานเพื่อประเทศชาติ ดังนั้น ดร.วรรณธนพล ได้รวมกลุ่มเพื่อนนักหนังสือพิมพ์ นักสังคมสงเคราะห์และนักวิชาการ นำโดย นายนิรันดร์ ทองปาน อดีตผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจเป็นประธาน จดทะเบียนจัดตั้ง มูลนิธิธรรมาภิวัตน์ ได้ทะเบียนเลขที่ กท 2558 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2558 ขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนการส่งเสริมการศึกษา การสร้างสัมมาอาชีพ สร้างสรรคิ์กิจกรรมจิตอาสา และการคุ้มครองดูแลความเดือดร้อนของประชาชน โดยให้ความสำคัญกับ 3 กลุ่มก่อน คือ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงอายุ และจะมุ่งมั่นสร้างประโยชน์ให้เป็นองค์กรสาธารณะตามหลักมาตรฐานสากล โดยยึดมั่นหลักธรรมาภิบาลในสังคมโลกระดับนานาชาติอย่างแท้จริง
จัดตั้งสำนักงาน ณ สถาบันรัชภาคย์
มูลนิธิธรรมาภิวัตน์ (ธภว.) เป็นภาษาอังกฤษ ชื่อว่า Foundation of Globalization Fairness : FGF มีทุนจดทะเบียน 200,000 บาท โดยเป็นเงินบริจาคของดร.วรรณธนพล ทั้งหมด จัดตั้งสำนักงานที่ 146/3 ซอยรามคำแหง112แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร ซึ่งใช้หลักศาสตร์พระราชในรัชกาลที่5 และ รัชการที่9 แห่งจักรกรีวงศ์เป็นแนวคิดสร้างสรรค์องค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติ และใน 3 ปีแรกได้ทำบันทึกความร่วมมือทางวิชาการ และให้ทุนการศึกษาเรียนฟรีตลอดหลักสูตรระดับปริญญาตรี กับสถาบันรัชต์ภาคย์ และกลุ่ม 5 โรงเรียนในพระบรมราชานุเคราะห์มีการให้ทุนการศึกษาแก้ผู้ด้อยโอกาส 1 คนและผู้พิการ 1 คนจนจบการศึกษาปริญญาตรี
ต่อมามูลนิธิธรรมาภิวัตน์ ได้ย้ายสำนักงานมาอยู่ที่สถาบันรัชภาคย์ 68 ซอย รามคำแหง 21 แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310 ที่เดียวกับสถาบันรัชต์ภาคย์ โดย ดร.ราชวิกรม อาทิตย์ เจริญรัชต์ภาคย์ให้ความอนุเคราะห์สถานที่ และมอบหมายให้เป็นผู้แทนในการรวมกลุ่มนักวิชาการส่งเสริมหลักสูตรการศึกษา งานวิจัย ฝึกอบรม และกิจกรรมการศึกษาในโครงการต่างๆให้แก่สถาบันรัชต์ภาคย์ ซึ่งมูลนิธิธรรมาภิวัตน์ได้ส่งเสริมและร่วมทำกิจกรรมจำนวนมากและสามารถสร้างผลงานที่มีคุณค่าแก่สถาบันการศึกษาและสังคม อาทิ การให้ทุนการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตร์ สาขาศิลปการจัดการ ในระดับปริญญาตรี-โท การสัมมนาวิชาการวิจัยระดับชาติ กับผลงานวิจัยหลายผลงาน การจัดกิจกรรมบริการสังคมจำนวนมาก เป็นต้น
บริหารองค์กรสาธารณะให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี
ปัจจุบัน มูลนิธิธรรมาภิวัตน์ ได้พัฒนาการบริหารองค์กรสาธารณะให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี โดยให้การอนุเคราะห์ประชาชนใน 3 กลุ่มเป็นหลัก คือ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงุอายุ ดำเนินนโยบายเป็นองค์กรเปิดกว้างสำหรับนักวิชาการ นักบริหารมืออาชีพ ประชาชนผู้ต้องการโอกาสในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ สร้างสิ่งประดิษฐ์ ผลงานที่มีคุณค่าสู่สังคมอย่างกว้างขวาง รวมถึงการเป็นแกนหลักในการหาทุน เทคโนโลยีและบุคลากรสนับสนุนองค์กรสาธารณะต่างๆที่ร่วมเป็นพันธมิตรเครือข่าย เพื่อให้เจตนารมณ์ในการทำงานสาธารณะประสบความสำเร็จ
มูลนิธิธรรมาภิวัตน์ มุ่งมั่นดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยไม่แสวงหากำไร แต่สร้างรายได้ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต สร้างเสริมอาชีพ สร้างจิตสำนึกพลเมืองที่ดี มีความรักชาติ รักแผ่นดิน ต่อต้านการทุจริต ฉ้อราษฎร์บังหลวง และการให้คุ้มครองดูแลความมั่นคงของวิถีชีวิตประชาชน รวมถึงส่งเสริมความสัมพันธ์การค้าการลงทุนและการศึกษาในภูมิภาคจีนเอเชีย
มูลนิธิธรรมาภิวัตน์ ยังให้ความสำคัญกับแนวทางการพัฒนาของทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ในยุคของการปฏิวัติทางเทคโนโลยี่ที่รวดเร็ว และรุนแรง ก่อให้เกิดการถ่ายเท และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่หลากหลาย เกิดวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ ความสามารถในการเข้าถึงความรู้อย่างไร้ทิศทาง ความสามารถในการแข่งขันของประเทศในยุคสังคมดิจิทัล การพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นเจริญก้าวหน้าสู่ Smart Thailand กับการเผชิญกับปัญหาทางสังคมออนไลน์ ปัญหาความเสื่อมโทรมของศีลธรรมที่แพร่กระจายอย่างมาก ดังนั้นจึงเน้นการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนในชาติให้มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ในทุกด้าน เพื่อสร้างความเสนอภาค ความเท่าเทียมกันในสังคม สร้างการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยองค์ความรู้ที่ทันสมัย ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม เทคโนโลยี การสื่อสาร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ให้ครอบคลุมพันธกิจสำคัญ 6 ประการ อันได้แก่ การสร้างจิตสำนึกดี การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การคุ้มครองผู้บริโภค ความมั่นคงปลอดภัย การวิจัยและส่งเสริมการศึกษาเพื่อการพัฒนาในทุกภาคส่วนอย่างเป็นระบบ